มารยาทที่ดีในชีวิตประจำวันที่ควรปฏิบัติ
ชมอีดีโอมารยาทการไหว้
ความหมาย มารยาท
มารยาท หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ
ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็น ไทยไม่ว่าจะเป็น การไหว้ การพูดจา วิธีการเรียกคนอื่นๆในสังคม เช่น เราเรียกแม่ค้าขายส้มตำว่า ป้า แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของคนไทยที่ไม่สามารถหาได้ในชาติอื่นๆ และสังคมที่ใกล้ชิดของคนไทย นอกจากนั้นมารยาทไทยยังครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
เยาวชนกับมารยาทสังคม
มารยาทในห้องเรียน
เยาวชนไทยในปัจจุบันใช้เกือบ1/3ของวันอยู่ภายในโรงเรียน และห้องเรียน เราจึงควรที่จะเรียนรู้วิธีที่จะปฏิบัติตนให้เหมาะสมเมื่ออยู่ในห้องเรียน
มารยาทในห้องเรียนซึ่งมีวิธีปฏิบัติง่ายๆและหลายๆคนก็พอจะรู้จักและปฏิบัติได้ดังนี้
1. ต้องตั้งใจเรียน เป็นการแย่มากๆหากว่าเราจับกลุ่มคุยแข่งกับอาจารย์ที่สอนอยู่หน้าชั้นเรียนหรือสนใจในการอ่านหนังสือการ์ตูนมากกว่าบทเรียนในชั่วโมงทุกคนลองคิดดูว่าอาจารย์ผู้สอนเพียงคนเดียวไม่สามารถตะเบ็งเสียงแข่งได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการเรียนการสอนจะไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังสร้างทัศนคติที่ไม่ดีระหว่างอาจารย์และนักเรียนอีกด้วย
2. ไม่รบกวนสมาธิของผู้อื่น ถึงแม้เราจะเบื่อในวิชานั้นๆก็ไม่ควรไปชวนเพื่อนคุยหรือรบกวนใดๆก็แล้วแต่ถ้าเราไม่เข้าใจหรือสงสัยอะไรให้ยกมือถามอย่าไปถามเพื่อนขณะเรียนเพราะเพื่อนอาจเรียนไม่รู้เรื่องเพราะเรา
3. เชื่อฟังคำตักเตือนของอาจารย์ บางครั้งที่เราทำผิดหรือเราอาจจะดื้อรั้นกับอาจารย์ที่สอนอยู่ อาจารย์อาจจะต่อว่า ตักเตือนหรือตีก็ไม่ควรทำอวดดีหรือโต้เถียงใดๆทั้งสิ้น
4. แสดงนำใจต่อเพื่อนๆ บางครั้งเพื่อนของเรามาเรียนไม่ทันหรือขาดเรียนไปเราควรอธิบายวิชาที่เราพอจะสามารถอธิบายให้เพื่อนเราฟังได้ หรือเพื่อนขาดอุปกรณ์การเรียน ถ้าเรามีก็ควรจะแบ่งปัน เพราะในการเรียนเราต้องพึ่งพาอาศัยกันเมื่อทำกิจกรรมต่างๆอยู่แล้ว
5. มีความรับผิดชอบ นอกจากการเรียนในวิชาต่างๆแล้วยังต้องมีแบบฝึกหัดให้เราทดลองและเราจะต้องมีความรับผิดชอบโดยการทำส่งให้ครบตามกำหนดเวลา เพื่อไม่ให้มีนิสัยที่ไม่ดีติดตัว
1. ต้องตั้งใจเรียน เป็นการแย่มากๆหากว่าเราจับกลุ่มคุยแข่งกับอาจารย์ที่สอนอยู่หน้าชั้นเรียนหรือสนใจในการอ่านหนังสือการ์ตูนมากกว่าบทเรียนในชั่วโมงทุกคนลองคิดดูว่าอาจารย์ผู้สอนเพียงคนเดียวไม่สามารถตะเบ็งเสียงแข่งได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการเรียนการสอนจะไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังสร้างทัศนคติที่ไม่ดีระหว่างอาจารย์และนักเรียนอีกด้วย
2. ไม่รบกวนสมาธิของผู้อื่น ถึงแม้เราจะเบื่อในวิชานั้นๆก็ไม่ควรไปชวนเพื่อนคุยหรือรบกวนใดๆก็แล้วแต่ถ้าเราไม่เข้าใจหรือสงสัยอะไรให้ยกมือถามอย่าไปถามเพื่อนขณะเรียนเพราะเพื่อนอาจเรียนไม่รู้เรื่องเพราะเรา
3. เชื่อฟังคำตักเตือนของอาจารย์ บางครั้งที่เราทำผิดหรือเราอาจจะดื้อรั้นกับอาจารย์ที่สอนอยู่ อาจารย์อาจจะต่อว่า ตักเตือนหรือตีก็ไม่ควรทำอวดดีหรือโต้เถียงใดๆทั้งสิ้น
4. แสดงนำใจต่อเพื่อนๆ บางครั้งเพื่อนของเรามาเรียนไม่ทันหรือขาดเรียนไปเราควรอธิบายวิชาที่เราพอจะสามารถอธิบายให้เพื่อนเราฟังได้ หรือเพื่อนขาดอุปกรณ์การเรียน ถ้าเรามีก็ควรจะแบ่งปัน เพราะในการเรียนเราต้องพึ่งพาอาศัยกันเมื่อทำกิจกรรมต่างๆอยู่แล้ว
5. มีความรับผิดชอบ นอกจากการเรียนในวิชาต่างๆแล้วยังต้องมีแบบฝึกหัดให้เราทดลองและเราจะต้องมีความรับผิดชอบโดยการทำส่งให้ครบตามกำหนดเวลา เพื่อไม่ให้มีนิสัยที่ไม่ดีติดตัว
มารยาทในสังคม
เด็กๆทุกคนคงไม่มีใครอยากจะใช้ชีวิตในห้องเรียนอย่างเดียว แน่นอนว่าเรายังมีเวลาที่เหลือนอกจากการเรียนที่เราสามารถไปทำสิ่งต่างๆที่เราชอบในสังคมภายนอก หากเราต้องการที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคมได้อย่างสงบสุขแล้ว เราต้องไม่รู้เพียงมารยาทในห้องเรียน แต่ต้องรู้ที่จะปฏิบัติตนอย่างถูกต้องนในสังคมอื่นๆอีกด้วย
ไปลามาไหว้ มารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทายเวลาพบปะกันหรือลาจากกัน “ การไหว้ ” เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า “ สวัสดี ” แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย “ การขอบคุณ ” และ “ การขอโทษ ” การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งนับวันจะค่อย ๆ เลือนลางออกไปจากสังคมไทย ด้วยเยาวชนไทยส่วนใหญ่รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมายึดถือปฏิบัติ เช่น การทักทายกันด้วย การจับมือ ด้วยการผงกหัวหรือพยักหน้าต้อนรับกัน โดยปกติความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นวัฒนธรรมไทยที่แสดงความเคารพด้วยการไหว้ผู้อาวุโส หรือการรับไหว้ผู้อาวุโสน้อย ปัจจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมที่เกิดเฉพาะกลุ่มแทนที่จะเป็นวัฒนธรรมในสังคมของคนทุกชนชั้น ด้วยสาเหตุที่เยาวชนไทยมองข้ามวัฒนธรรมไทยที่ดีงามถูกต้อง มารยาทในสังคมไทยจึงผิดเพี้ยนไป ในที่นี้ได้หยิบยกมารยาทในการพบปะสมาคมในสังคมที่สำคัญมีดังนี้
1. การรู้จักวางตน ต้องเป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมีและไม่ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม
2. การรู้จักประมาณตน มีธรรมของคนดี ๗ ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่าง คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า “ จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน ”
3. การรู้จักการพูดจา ต้องไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูดที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคมและไม่คุยเสียงดังหรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้
4. การรู้จักควบคุมอารมณ์ คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช่อารมณ์รุนแรงเพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบเป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ทำลายข้าวของไม่พูดและแสดงกิริยาประชดประชันหรือส่อเสียด
5. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน
6. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถและไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ
7. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้องมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำคัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม
8. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันใน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ความว่า “ จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด” การยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม